ตะไคร้หอม
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cymbopogon
nardus Rendle
ชื่อสามัญ : Citronella
grass
วงศ์ : GRAMINEAE
ชื่ออื่น : จะไคมะขูด ตะไครมะขูด (ภาคเหนือ) ตะไคร้แดง
(นครศรีธรรมราช)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : : ไม้ล้มลุก
อายุหลายปี สูง 0.75-1.2 เมตร แตกเป็นกอ เหง้าใต้ดินมีกลิ่นเฉพาะ
ข้อและปล้องสั้นมาก กาบใบของตะไคร้หอมมีสีเขียวปนม่วงแดง
ยาวและหนาหุ้มข้อและปล้องไว้แน่น ใบ
เดี่ยวเรียงสลับ กว้าง 1-2 ซม. ยาว 70-100 ซม. แผ่นใบและขอบใบสากและคม (ตะไคร้หอมใบยาวและนิ่มกว่าตะไคร้ธรรมดาเล็กน้อย
ทำให้ปลายห้อยลงปรกดินกว่า) ดอก ช่อ
สีน้ำตาลแดง แทงออกจากกลางต้น ออกดอกยาก ผลเป็นผลแห้ง ไม่แตก
ส่วนที่ใช้ : ต้น ใบสด น้ำมันของต้นตะไคร้หอม
สรรพคุณ :
น้ำมันสะกัดตะไคร้หอม
-
ปรุงกับน้ำหอมทาตัวป้องกันยุงกัด
-
ใส่กระบอกสูบผสมกับน้ำมันอื่นฉีดไล่ยุงได้ดีมาก
ทั้งต้น
-ใช้ตะไคร้หอม 4-5 ต้น นำมาทั้งต้น
ทุบๆ วางทิ้งไว้ในห้องมืดๆ กลิ่นน้ำมันหอมระเหยออกมา ยุง แมลงจะหนีหมด
ประโยชน์ทางยา
แก้ริดสีดวงในปาก
(คือปากแตกระแหงเป็นแผลในปาก)
ปรุงเป็นยาขับลมในลำไส้ และแก้แน่นได้ด้วย
สตรีมีครรภ์รับประทานให้ตกลูกหรือทำลายโลหิตให้ด้วย
(ทำให้แท้ง) คือมีอำนาจในทางบีบรัดมดลูกได้ดีด้วย
วิธีใช้ :
นำน้ำมันหอมระเหยตะไคร้หอมทาตามตัว ไล่แมลง ยุง
สารเคมี น้ำมันหอมระเหย มี 0.4-0.9%
ประกอบด้วย geraniol 57.6-61.1% Citronellal 7.7-14.2% eugenol, camphor, methyl eugenol.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น