Elegant Rose - Working In Background

วันศุกร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

พุดตาน

                                                        

                                                     พุดตาน

                          

ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Hibiscus mutabilis  L.
ชื่อสามัญ :  Cotton rose, Confederate rose
วงศ์ :   Malvaceae
ชื่ออื่น :  ดอกสามสี  สามผิว (ภาคเหนือ)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูงประมาณ 5 เมตร  ต้นและกิ่งมีขนสีเทา  ใบ เดี่ยว ออกสลับ รูปไข่โคนรูปหัวใจ ปลายแหลม  ขอบใบเว้าลึก มี 3- 5 แฉก  ใบมีขนสาก  ดอก  ซ้อนใหญ่งามมาก แรกบานมีสีขาว แล้วเปลี่ยนเป็นสีชมพูและแดง  ออกตามซอกใบและปลายกิ่ง  มีริ้วประดับ 7- 10 อัน  ผล กลม  เมื่อแก่แตกเป็น 5 แฉก  เมล็ด รูปไต มีขน ออกดอกตลอดปี
ส่วนที่ใช้ : ใบสด หรือใบตากแห้ง ดอก เก็บดอกตอนเริ่มบานเต็มที่ รากเก็บได้ตลอดปี ตากแห้งหรือใช้สดก็ได้

สรรพคุณ :

ยารักษาคางทูม

ยาถอนพิษ รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แผลมีหนอง

ยาแก้งูสวัด

วิธีและปริมาณที่ใช้

ยารักษาคางทูม
- ใช้ใบแห้ง 10-15 ใบ บดให้ละเอียด เติมไข่ขาวผสมให้เข้ากัน เพื่อให้ยาจับกันเป็นแผ่น นำไปพอกปิดบริเวณที่บวมเป็นคางทูม เปลี่ยนยาวันละ 2 ครั้ง จนกว่าจะหายบวม
- ใช้ดอก อย่างแห้ง หนัก 3-12 กรัม ใบสด 30-40 กรัม ต้มน้ำรับประทาน ใช้ภายนอก บดเป็นผงผสม หรือใช้สดตำพอก

ยาดถอนพิษ รักษาแผลน้ำร้อนลวก ไฟไหม้ แผลมีหนอง
- ใช้ใบสด 3-4 ใบ ล้างน้ำให้สะอาด ตำให้ละเอียดแล้วผสมกับน้ำมันพืช ใช้ทาแผลน้ำร้อนลวก ไฟไหม้ แผลมีหนอง

ยาแก้งูสวัด
- ใช้ใบสด 4-5 ใบ ล้างให้สะอาด ตำให้ละเอียด เติมน้ำซาวข้าว ใช้ทาบริเวณที่เป็น ทาบ่อยๆ
- รากใช้เป็นยาทาภายนอก ตำพอกหรือบดเป็นผงผสมพอก

สารเคมี

ใบ มี Flavonoid glycosides , phenol, amino acid, tannin

ดอก มี  Flavonoid glycosides
 Flavonoid glycosides จะมีปริมาณเปลี่ยนไปตามสีของดอกไม้เมื่อบานเต็มที่ สีแดงจะมี anthocyanin ในตอนที่ดอกมีสีแดงเข้ม จะมีปริมาณของ  anthocyanin เป็น 3 เท่าของตอนที่มีดอกเป็นสีชมพู

ว่านหางจระเข้

                                                         ว่านหางจระเข้

                            


ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Aloe vera  (L.)  Burm.f.
ชื่อพ้อง : Aloe barbadensis  Mill
ชื่อสามัญ :   Star cactus, Aloe, Aloin, Jafferabad, Barbados
วงศ์ :   Asphodelaceae
ชื่ออื่น :  หางตะเข้ (ภาคกลาง) ว่านไฟไหม้ (ภาคเหนือ)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุกอายุหลายปี สูง 0.5-1 เมตร ลำต้นเป็นข้อปล้องสั้น ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงเวียนรอบต้น ใบหนาและยาว โคนใบใหญ่ ส่วนปลายใบแหลม ขอบใบเป็นหนามแหลมห่างกัน แผ่นใบหนาสีเขียว มีจุดยาวสีเขียวอ่อน อวบน้ำ ข้างในเป็นวุ้นใสสีเขียวอ่อน ดอก ออกเป็นช่อกระจะที่ปลายยอด ก้านช่อดอกยาว ดอกสีแดงอมเหลือง โคมเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 6 แฉก เรียงเป็น 2 ชั้น รูปแตร ผล เป็นผบแห้งรูปกระสวย
ส่วนที่ใช้ : วุ้นในใบสด  ยางในใบ  เหง้า

สรรพคุณ :

วุ้นในใบสด
- บรรเทาอาการปวดศีรษะ
- รักษาแผลน้ำร้อนลวก ไฟไหม้
- ถอนพิษ แก้ปวดแสบปวดร้อน แผลเรื้อรัง

ยางในใบ - ทำยาดำ เป็นยาระบาย

เหง้า  - ต้มเอาน้ำรับประทาน แก้หนองใน

วิธีและปริมาณที่ใช้ :

บรรเทาอาการปวดศีรษะ
เลือกใบว่านหางจระเข้ที่อยู่ล่างสุด ใบสด 1 ใบ (เพราะมีตัวยามากกว่า) ฝานตามขวางใบ หนาประมาณ 1/4 ซม. ใช้ปูนแดงทาตรงเนื้อที่มีลักษณะคล้ายวุ้นสีขาวใสๆ แล้วเอาทางด้านปูนแดงปิดบนขมับ

รักษาแผลน้ำร้อนลวก ไฟไหม้ ถอนพิษ
ปอกเปลือกสีเขียวออก ล้างยางสีเหลืองออกให้หมด ขูดเอาวุ้นใสออกมาทาพอกบริเวณแผลที่ถูกไฟไหม้ หรือน้ำร้อนลวกให้ชุ่ม เปลี่ยนวุ้นทุกวันจนกว่าจะหาย ช่วยระงับความเจ็บปวดด้วยและป้องกันการติดเชื้อ ช่วยให้แผลหายเร็วและไม่เกิดแผลเป็น
** วุ้นว่านหางจระเข้ ยังใช้ทารักษาผิวไหม้ที่เกิดจากแดดเผาได้

ข้อควรระวัง :  ก่อนใช้ว่านทดสอบดูว่าแพ้หรือไม่ โดยเอาวุ้นทาบริเวณท้องแขนด้านใน ถ้าผิวไม่คันหรือแดงก็ใช้ได้

          

ผักบุ้งทะเล

                                                          ผักบุ้งทะเล

                                     

ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Ipomoea pes-caprae ( L.) R.br.
ชื่อสามัญ :   Goat's Foot Creeper, Beach Morning Glory
วงศ์ :   Convolvulaceae
ชื่ออื่น :  ละบูเลาห์ (มลายู-นราธิวาส)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้เลื้อยล้มลุก เลื้อยไปตามผิวทรายหรือดิน ชอบขึ้นในพื้นที่ใกล้ทะเล ทั้งต้นมีน้ำยางสีขาว ใบ เดี่ยว แผ่นใบกว้าง โคนใบรูปหัวใจ ปลายใบเว้าลึก ดอก ช่อ มี 4-6 ดอก กลีบดอกสีชมพูอมม่วง กลีบดอกติดกันปลายบานคล้ายปากแตร ดอกบานตอนเช้า บ่ายๆ จะหุบเหี่ยว ผล เป็นผลแห้งแตกได้
ส่วนที่ใช้ :  ใบ รากสด ทั้งต้น เมล็ด

สรรพคุณ :

ใบสด  -   เป็นยาพอก ต้มอาบรักษาโรคผิวหนัง แก้ปวดไขข้อบวมอักเสบมีหนอง

รากสด - ขับปัสสาวะในโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ แก้โรคเท้าช้าง ปวดฟัน ผดผื่นคันมีน้ำเหลือง

ทั้งต้น - แก้อาการอักเสบจากพิษแมงกระพรุนไฟ ถอนพิษลมเพลมพัด ต้มอาบแก้โรคคันตามผิวหนัง

เมล็ด - ป้องกันโรคตะคริว

วิธีและปริมาณที่ใช้

แก้พิษแมงกระพรุนไฟ แก้แพ้พิษต่างๆ
- ใช้ใบโขลก พอก ถอนพิษ
- ใช้รากสด 1 ราก นำมาฝนกับน้ำฝนให้ข้นๆ อาจใช้เหล้าโรงหรือแอลกอฮอล์ผสมด้วยจะได้ผลดี ใช้ทาบ่อยๆ

สารเคมี

ใบ พบ Fumaric acid, Succinic acid, Citric acid, Maleic acid, Curcumene, Ergotamine

ลำต้นเหนือดิน พบ Behenic acid, Benzoic acid, Butyric acid, Essential Oil, Potassium Chloride, Myristic acid, Sodium chloride, ß-Sitosterol

ทั้งต้น พบ Citric acid, Fumaric acid, Hyperoside, Malic acid, Isoquercitrin, Succinic acid, Tartaric acid

เมล็ด พบ Dehydrocacalohastine, Cacalol methyl ether, Ergotamine, Matorin, Matorin acetate

เทียนบ้าน

                                                                เทียนบ้าน

                           

ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Impatiens balsamina  L.
ชื่อสามัญ :   Garden Balsam
วงศ์ :   BALSAMINACEAE
ชื่ออื่น :  เทียนดอก เทียนไทย เทียนสวน (ภาคกลาง)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุกสูง 30-80 ซม. ลำต้นอวบน้ำและค่อนข้างโปร่งแสง ออกดอกออกผลแล้วต้นจะตาย ใบเดี่ยวเรียงสลับรอบลำต้น รูปวงรี ขอบใบหยักฟันเลื่อย ดอกเดี่ยวหรือเป็นกระจุก ออกที่ซอกใบ กลีบดอกมีสีชมพู แดง ม่วง ขาว ผลเป็นผลแห้ง เมื่อแก่จัดจะแตกออก เปลือกผลม้วนขมวดขึ้น และดีดเมล็ดที่ค่อนข้างกลมสีน้ำตาลออกมา เพื่อช่วยกระจายพันธุ์
ส่วนที่ใช้ :  ใบทั้งสดและแห้ง ยอดสด ต้นและรากสด เมล็ดแห้ง
สรรพคุณ :
ใบสด แก้ปวดข้อ ยารักษากลากเกลื้อน แก้ฝีและแผลพุพอง ยากันเล็บถอด
ใบแห้ง แก้แผลอักเสบ ฝีหนอง แผลเน่าเปื่อย รักษาแผลเรื้อรัง
ยอดสด แก้จมูกอักเสบ บวมแดง
ต้นสด แก้แผลงูสวัด
รากสด แก้บวมน้ำ ตำพอกแผลที่ถูกเสี้ยนหรือแก้วตำ
เมล็ดแห้ง แก้ประจำเดือนไม่มา ขับประจำเดือน
ขนาดและวิธีใช้
          -แก้ปวดข้อ ใช้ใบสดต้มกับน้ำผสมเหล้าดื่ม
          - ยารักษากลากเกลื้อน ใช้ใบสด 1 กำมือ ตำให้ละเอียด ตำทั้งน้ำและเนื้อบริเวณที่เป็น ทาบ่อยๆ จนกว่าจะหาย
          - แก้ฝีและแผลพุพอง ใช้ใบสด 5-10 ใบ ล้างให้สะอาด ตำให้ละเอียด นำมาพอกที่เป็นแผล วันละ 3 ครั้ง จนกว่าจะหาย
          - ยากันเล็บถอด ใช้ใบ ยอดสด 1 กำมือ ล้างให้สะอาด ตำให้ละเอียด เติมน้ำตาลทรายแดง 1/2 ช้อนชา พอกตรงเล็บ เปลี่ยนยาเช้า-เย็น
          - แก้แผลอักเสบ ฝีหนอง แผลเน่าเปื่อย  ใช้ใบแห้ง 10- 15 กรัม ต้มกับน้ำดื่ม เช้า-เย็น
          - รักษาแผลเรื้อรัง ใช้ใบแห้งบดเป็นผงผสมพิมเสนใส่แผล
          - แก้จมูกอักเสบ บวมแดง ใช้ยอดสดตำกับน้ำตาลแดง พอกบริเวณที่เป็น เปลี่ยนเช้า-เย็น
          - แก้แผลงูสวัด ใช้ต้นสดตำ คั้นเอาน้ำดื่ม เอากากพอกแผล
          - แก้บวมน้ำ ใช้รากสด 4-5 ราก ต้มกับเนื้อรับประทาน 3-4 ครั้ง
          - แก้ประจำเดือนไม่มา ขับประจำเดือน ใช้เมล็ดแห้งของต้นเทียนบ้านชนิดดอกสีขาว 60 กรัม บดเป็นผงรวมกับตังกุย 10 กรัม ผสมกับน้ำผึ้ง ปั้นเป็นยาเม็ด รับประทานครั้งละ 3 กรัม วันละ 3 เวลา หลังอาหาร

วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ว่านกาบหอย

                                                     ว่านกาบหอย

                     

ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Tradescantia spathacea  Stearn
ชื่อสามัญ :   Oyster plant , White flowered tradescantia
วงศ์ :   Commelinaceae
ชื่ออื่น :  กาบหอยแครง ว่านหอยแครง (กรุงเทพฯ)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก สูง 20-45 ซม. ลำต้นอวบใหญ่ แตกใบรอบเป็นกอ ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงซ้อนเป็นวงรอบ รูปใบหอก ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ หลังใบสีเขียว ท้องใบสีม่วงแดง เนื้อใบหนา ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบ แต่ละช่อประกอบด้วยใบประดับสีม่วงปนเขียว รูปหัวใจคล้ายหอยแครง มี 2 กาบ โคนกาบทั้งสองประกบเกยซ้อนและโอยหุ้มดอกสีขาว ดอกสีขาวเล็กอยู่รวมเป็นกระจุก กลีบดอก 3 กลีบ รูปไข่ สีขาว แผ่นกลีบหนา เกสรเพศผู้มี 6 อัน ผล รูปรี กว้าง 2.5-3 มม. ยาว 3.5 มม. มีขนเล็กน้อย ผลแก่แตกออกเป็น 3 ซีก เมล็ดเล็ก
ส่วนที่ใช้ : ใช้ใบสด หรือตากแห้งเก็บไว้ใช้ และดอก เมื่อเก็บดอกที่โตเต็มที่ แล้วตากแห้ง หรืออบด้วยไอน้ำ 10 นาที แล้วจึงนำไปตากแห้ง เก็บเอาไว้ใช้

สรรพคุณ :

ใบ - แก้ร้อนใน กระหายน้ำ แก้ไอ อาเจียนเป็นโลหิต แก้ฟกช้ำภายใน เนื่องจากพลัดตกจากที่สูงหรือหกล้มฟาดถูกของแข็ง แก้บิด ถ่ายเป็นเลือด แก้ปัสสาวะเป็นเลือด

ดอก -  รสชุ่มเย็น ต้มกับเนื้อหมูรับประทาน ใช้ขับเสมหะ แก้ไอแห้งๆ แก้อาเจียนเป็นโลหิต เลือดกำเดาออก ห้ามเลือด แก้ปัสสาวะเป็นเลือด แก้ไอเป็นเลือด แก้บิดถ่ายเป็นเลือด

วิธีและปริมาณที่ใช้ :

ใบ  ใช้ต้มน้ำดื่ม ครั้งละ 15- 30 กรัม ใช้ภายนอก โดยการตำพอก

ดอก ใช้ดอกแห้งหนัก 10- 15 กรัม หรือ ดอกสด หนัก 30- 60 กรัม ต้มน้ำดื่ม

ตำรับยา :

แก้ไอ ร้อนใน กระหายน้ำ แก้อาเจียนเป็นโลหิต แก้ฟกช้ำภายใน เนื่องจากพลัดตกจากที่สูง หรือหกล้มฟาดถูกของแข็ง
ใช้ใบสด 3 ใบ ต้มน้ำผสมน้ำตาลกรวดเล็กน้อยดื่ม

แก้หวัด ไอ มีเสมหะปนเลือด เลือดกำเดาออก บิดจากแบคทีเรีย
ใช้ดอกแห้ง 20-30 ดอก ต้มน้ำดื่ม

ยอบ้าน

                                                            ยอบ้าน

                       
ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Morinda citrifolia  L.
ชื่อสามัญ :   Indian Mulberry
วงศ์ :   Rubiaceae
ชื่ออื่น :  ยอบ้าน (ภาคกลาง) มะตาเสือ (ภาคเหนือ) ยอ แยใหญ่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูง 2-6 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาล แตกเป็นสะเก็ดแล้วหลุดออก กิ่งอ่อนเป็นสี่เหลี่ยม ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้าม รูปรี กว้าง 8-15 ซม. ยาว 10-20 ซม. ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียวเข้มเป็นมัน ดอก ออกเป็นช่อกลมตามซอกใบ ดอกสีขาว กลีบดอกโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 แฉก มีกลิ่นหอม ผล เป็นผลรวม ผิวขรุขระเป็นตุ่ม ผลสุกมีกลิ่นเหม็นเอียน เมล็ดสีน้ำตาลมีหลายเมล็ด
ส่วนที่ใช้ :  ใบ ราก ผลดิบ ผลสุก
สรรพคุณ :
ใบ -  มีวิตามินเอ 40,000 กว่ายูนิตสากลต่อ 100 กรัม มีคุณสมบัติในการบำรุงสายตา หัวใจ คั้นน้ำทาแก้โรคเก๊าท์ ปวดตามข้อเล็กๆ ของนิ้วมือ นิ้วเท้า หรือคั้นน้ำสระผมฆ่าเหา แก้กระษัย ใช้ใบปรุงเป็นอาหาร แก้ท้องร่วง

ราก -  ใช้เป็นยาระบาย แก้กระษัย ใช้สกัดสีออกมา เป็นสีย้อมผ้าได้ โดยผสมส่วนของเกลือต่างๆ สามารถเปลี่ยนเป็นสีต่างๆ ได้ตามต้องการ ซึ่งสีเดิมของรากจะมีสีเหลือง หรือเหลืองปนแดง หากผสมตามส่วนด้วยเกลือ อาจจะได้สีแดง ชมพู น้ำตาลอ่อน สีม่วงแดง หรือสีดำ เป็นต้น

ผลโตเต็มที่แต่ไม่สุก  - จิ้มน้ำผึ้งรับประทาน มีคุณสมบัติเป็นยาขับลม บำรุงธาตุ เจริญอาหาร ขับลมในลำไส้ กระเพาะอาหาร แก้เหงือกเปื่อยเป็นขุมบวม ขับเลือดลม ขับโลหิตประจำเดือน

ผลดิบ -  ต้มน้ำรับประทานกับรากผักชี แก้อาการอาเจียนของหญิงมีครรภ์

วิธีและปริมาณที่ใช้ :
          นำผลยอโตเต็มที่แต่ไม่สุก ฝานเป็นชิ้นบางๆ ย่างหรือคั่วไฟอ่อนๆ ให้เหลืองกรอบ ใช้ครั้งละ 1 กำมือ (10-15 กรัม) ต้มหรือชงกับน้ำ เอาน้ำที่จิบทีละน้อย และบ่อยๆ ครั้งจะได้ผลดีกว่าดื่มครั้งเดียว
สารเคมี : ผลยอนั้นมีสารเคมี Asperuloside, caproic acid, caprylic acid และ glucose

ขิง

                                                                  ขิง
                       
                     

ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Zingiber officinale  Roscoe
ชื่อสามัญ :   Ginger
วงศ์ :   Zingiberaceae
ชื่ออื่น :  ขิงแกลง ขิงแดง (จันทบุรี) ขิงเผือก (เชียงใหม่) สะเอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :  ไม้ล้มลุก มีเหง้าใต้ดิน สีน้ำตาลแกมเหลือง เนื้อในสีนวล มีกลิ่นเฉพาะ จะแทงหน่อหรือลำต้นเทียมขึ้นมาเหนือพื้นดิน ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปขอบขนาน แกมรูปใบหอก กว้าง 1.5-2 ซม. ยาว 15-20 ซม. ขอบใบเรียบ แผ่นใบสีเขียวเข้มเป็นมัน  ดอก ออกเป็นช่อ แทงออกจากเหง้าใต้ดิน ใบประดับเรียงเวียนสลับสีเขียวอ่อน ดอกสีเหลืองแกมเขียว ผล เป็นผลแห้ง ทรงกลม ขนาดประมาณ 1 ซม. เป็น 3 พู เมล็ดหลายเมล็ด
ส่วนที่ใช้ :  เหง้าแก่สด  ต้น  ใบ  ดอก  ผล
สรรพคุณ :

เหง้าแก่สด
- ยาแก้อาเจียน
- ยาขมเจริญอาหาร
- ยาแก้ท้องขึ้น ท้องอืดเฟ้อ ขับลม
- แก้ไอ ขับเสมหะ บำรุงธาตุ
- สามารถต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร ลดอาการจุกเสียดได้ดี
- มีฤทธิ์ในการขับน้ำดี เพื่อย่อยอาหาร
- แก้ปากคอเปื่อย แก้ท้องผูก
- ลดความดันโลหิต

ต้น - ขับผายลม แก้จุกเสียดแน่นเฟ้อ แก้นิ่ว บำรุงไฟธาตุ แก้คอเปื่อย ช่วยย่อยอาหาร ฆ่าพยาธิ แก้โรคตา แก้บิด แก้ลมป่วง แก้ท้องร่วงอย่างแรง แก้อาเจียน