ขิง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Zingiber
officinale Roscoe
ชื่อสามัญ : Ginger
วงศ์ : Zingiberaceae
ชื่ออื่น : ขิงแกลง ขิงแดง (จันทบุรี) ขิงเผือก
(เชียงใหม่) สะเอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก มีเหง้าใต้ดิน สีน้ำตาลแกมเหลือง
เนื้อในสีนวล มีกลิ่นเฉพาะ จะแทงหน่อหรือลำต้นเทียมขึ้นมาเหนือพื้นดิน ใบ
เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปขอบขนาน แกมรูปใบหอก กว้าง 1.5-2 ซม. ยาว 15-20 ซม.
ขอบใบเรียบ แผ่นใบสีเขียวเข้มเป็นมัน ดอก
ออกเป็นช่อ แทงออกจากเหง้าใต้ดิน ใบประดับเรียงเวียนสลับสีเขียวอ่อน
ดอกสีเหลืองแกมเขียว ผล เป็นผลแห้ง ทรงกลม ขนาดประมาณ 1 ซม. เป็น 3 พู
เมล็ดหลายเมล็ด
ส่วนที่ใช้ : เหง้าแก่สด
ต้น ใบ ดอก ผล
สรรพคุณ :
เหง้าแก่สด
- ยาแก้อาเจียน
- ยาขมเจริญอาหาร
- ยาแก้ท้องขึ้น ท้องอืดเฟ้อ ขับลม
- แก้ไอ ขับเสมหะ บำรุงธาตุ
- สามารถต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร
ลดอาการจุกเสียดได้ดี
- มีฤทธิ์ในการขับน้ำดี
เพื่อย่อยอาหาร
- แก้ปากคอเปื่อย แก้ท้องผูก
- ลดความดันโลหิต
ต้น - ขับผายลม แก้จุกเสียดแน่นเฟ้อ
แก้นิ่ว บำรุงไฟธาตุ แก้คอเปื่อย ช่วยย่อยอาหาร ฆ่าพยาธิ แก้โรคตา แก้บิด แก้ลมป่วง
แก้ท้องร่วงอย่างแรง แก้อาเจียน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น